วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สัจพจน์ของความบริบรูณ์




สัจพจน์ความบริบูรณ์ หรือสัจพจน์การมีค่าขอบเขตบนน้อยสุด (Least upper bound axiom)
บทนิยามถ้า S เป็นสับเซตของ R
 S จะมีขอบเขตบนก็ต่อเมื่อ มีจำนวนจริง a ที่ทำให้ x ≤ a
 สำหรับจำนวนจริง x ทุกตัวใน S เรียกจำนวนจริง a นี้ว่า "ขอบเขตบนของ S"
  
บทนิยามถ้า S เป็นสับเซตของ R
 a จะเป็นขอบเขตบนน้อยสุดของ S ก็ต่อเมื่อ
 1. a เป็นขอบเขตบนของ S
 2. ถ้า b เป็นขอบเขตบนของ S แล้วจะได้ว่า a ≤ b
  
 สัจพจน์การมีค่าขอบเขตบนน้อยสุด
       ถ้า S เป็นสับเซตของ R โดยที่ S ≠ Ø และ S มีขอบเขตบนแล้ว S จะมีค่าขอบเขตบนน้อยสุด
-------------------------------------------------------------------
ตัวอย่างที่ 1ให้ S เท่ากับช่วงปิด [1, 6]
 จะได้ว่า 6 และจำนวนจริงทุกตัวที่มากกว่า 6 เป็นขอบเขตบนของ S และขอบเขตบนน้อยสุดคือ 6
-------------------------------------------------------------------
ตัวอย่างที่ 2ให้ S เท่ากับช่วงเปิด (2, 7)
 จะได้ว่า 7 และจำนวนจริงทุกตัวที่มากกว่า 7 เป็นขอบเขตบนของ S และขอบเขตบนน้อยสุดคือ 7
-------------------------------------------------------------------
ตัวอย่างที่ 3ให้ S = {1, 0, 3, 5, 4}
 จะได้ว่า 5 และจำนวนจริงทุกตัวที่มากกว่า 5 เป็นขอบเขตบนของ S และขอบเขตบนน้อยสุดคือ 5
-------------------------------------------------------------------
ตัวอย่างที่ 4ให้ S = [-2, ∞]
 จะได้ว่า S ไม่มีขอบเขตบน
-------------------------------------------------------------------
ตัวอย่างที่ 5ให้ S ≠ Ø
 จะได้ว่า จำนวนจริงทุกจำนวนเป็นค่าขอบเขตบนของ S ดังนั้นเซตว่างจึงไม่มีขอบเขตบนน้อยสุด
  

     http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/math04/07/2/BasicMathForM4/real_tau.html 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น